บทความทั้งหมด, ไขข้อสงสัยเรื่องข้าว

ทำไมข้าวเหนียวถึงเหนียว?

สำหรับการกินข้าวเหนียว นอกจากความอร่อยอิ่มหนำแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ค่อนข้างจะน่ารำคาญใจ นั่นคือ ความเหนียวหนึบ ของข้าวเหนียวที่จะติดตามนิ้ว (ถ้าคุณใช้มือจกกิน..) แล้วยิ่งถ้าเผลอปล่อยทิ้งไว้นานเกินละก็ มันจะแข็งติดนิ้ว ล้างออกยาก ไม่ถูกใจสาวๆ อย่างแรง

“เอ๊ะ แล้วทำไมข้าวเหนียวถึงเหนียวนะ?!”

แม้ชื่อข้าวก็บอกอยู่ว่าเป็น ข้าวเหนียว ก็เถอะ แต่มีอะไรในข้าวพันธุ์นี้ที่ทำให้เหนียวล่ะ? ต่างจากข้าวพันธุ์อื่นๆ อย่างไร? วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกัน!

ข้าวเหนียวเป็นข้าวที่มีลักษณะสีขาวขุ่น เมื่อผ่านการนึ่งจนสุกแล้วจะมีสีใสและเหนียว โดยเมล็ดข้าวเหนียวมีโมเลกุลที่เรียกว่า “อะมิโลเพคติน” (Amylopectin) เป็นโครงสร้างแบบกิ่ง และมีพันธะไกลโคไซด์ (Glycosidic bond) ชนิดแอลฟา 1,4 และ 1,5 เกาะอยู่ ด้วยโครงสร้างแบบกิ่งในข้าวเหนียวที่มีความเป็นระเบียบน้อยที่ทำให้ข้าวเหนียวสามารถอุ้มน้ำและพองตัวได้ดี ทำให้ข้าวเหนียวมีความเหนียวนั่นเอง!

ในส่วนข้าวเหนียวที่ข้าวธรรมแนะนำก็คือ ข้าวเหนียวขาวเชียงราย (เขี้ยวงู) เชียงราย

เป็นข้าวเหนียวที่มีลักษณะโดดเด่น ด้วยเมล็ดเรียวเล็กคล้ายเขี้ยวงู เมื่อข้าวหุงสุกจะมีสีขาวมันวาว เกาะตัวเหนียวนุ่ม ให้รสสัมผัสนุ่มและหอมละมุน! นอกจากนี้ ยังเป็นข้าวเหนียวยอดนิยมที่คนมักเลือกไปทำ ข้าวเหนียวมูน ซึ่งไปทำเมนูอร่อยคู่ผลไม้ตามฤดูกาลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน ฯลฯ

เลือกช้อปข้าวเหนียวเขี้ยวงู ตราธรรม คัลเจอร์ ได้เลย >>คลิก<<