บทความทั้งหมด, สุขภาพดีกับข้าวธรรม

มือเท้าชาบ่อยๆ อย่าปล่อยเบลอ!

ไหนใครชอบมือชา เท้าชาบ้าง??

ทั้งๆ ที่นั่งไม่ได้นาน ไม่ได้ค้ำหรือนั่งในท่าที่จะปวดเมื่อย แต่อยู่ๆ มือหรือขาก็ชาขึ้นมาเสียอย่างนั้น ความรู้สึกที่เหมือนมีตัวอะไรเล็กๆ เดินอยู่ในเนื้อ หรือเหมือนมีเข็มเล็กๆ มาทิ่มแทงทุกครั้งที่ขัยบ มันช่างทรมานจริงๆ

ใครที่เคยมีอาการแบบนี้บ่อยๆ อย่าได้ละเลยเชียวนะ เพราะร่างกายอาจกำลังส่งสัญญาณ SOS ออกมาก็ได้!

สาเหตุของอาการ “เหน็บชา”

เหน็บชา เป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก ซึ่งมีสาเหตุหลากหลาย ทั้งจากพฤติกรรม และโรค

  • การนั่ง หรือยืนในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ทำให้เลือดไปไหลเวียนในบริเวณนั้นไม่สะดวก
  • จากโรคบางชนิด เช่น โรคหมองรองกระดูกกดทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ไมเกรน ลมชัก
  • เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด

ใครที่ไม่ได้นั่งท่าเดิมนานๆ ไม่ได้มีโรคประจำตัว แต่กลับมีอาการเหน็บชาบ่อยๆ ให้คาดเดาไว้เลยว่าตัวเองอาจจะขาดสารอาหารบางอย่างก็เป็นได้ อย่าเห็นว่าอาการเหน็บชา เป็นเพียงอาการเล็กน้อยเด็ดขาด เพราะอาการเหน็บชานับเป็นโรคทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมาย ทั้งโรคภูมิแพ้ ภาวะทางจิต หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งการแก้ไขก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่กินอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งก็คือ “วิตามินบี 1” (Thiamine) นั่นเอง!

เราสามารถป้องกันอาการเหน็บชาได้โดยการปรับปลี่ยนพฤติกรรม หรือการหันมาบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 นั่นคือ “ข้าวกล้อง”

เพราะในข้าวกล้อง นั้นมีวิตามินบี 1 อยู่ การที่กินข้าวกล้องในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมร่างกายให้แข็งมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยในการลดอาการเหน็บชา

นอกจากนี้ในข้าวกล้องยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์กับบร่างกายอีกมาก ทั้งใยอหาร ที่มีส่วนช่วยในการขับถ่าย ทั้งวิตามินอื่นๆ และแร่ธาตุ ที่ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันโรคร้าย และช่วยบำรุงผิวพรรณอีกด้วย

นอกจากการกินข้าวกล้องแล้ว ควรเสริมด้วยอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย

  • พืชตระกูลถั่ว ทั้งถั่วเขียว ถั่วลิสง และธัญพืชเต็มเมล็ด
  • เนื้อสัตว์ กินในปริมาณที่เหมาะสม พยายามเลี่ยงในส่วนไขมันอย่าให้มากเกินไป
  • นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต
  • เน้นกินผักบางชนิด เช่น ผักโชม กะหล่ำดาว หน่อไม้ฝรั่ง
  • ผลไม้ เช่น แตงโม ส้ม

ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และของหมักดอง รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเพื่อกระตุ้นระบบประสาท หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ หรือมีอาการเหน็บชาบ่อยครั้งเกินไป สมควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหาสาเหตุของอาการโดยเร็ว อย่าปล่อยปละละเลยอาการเพียงเล็กน้อยที่ร่างกายเราแสดงออกมานะคะ

ช้อปข้าวกล้องบำรุงสุขภาพได้ง่ายๆ ทางออนไลน์ >>คลิก<<

ข้อมูลอ้างอิง (Source) :

1.พบแพทย์. (2021). เหน็บชา , สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565. จาก. https://www.pobpad.com/เหน็บชา

2.โรงพยาบาลบางกราย. (2020). กินอย่างไรห่างไกลโรคเหน็บชา , สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565. จาก. www.bangkruaihospital.go.th

3.โรงพยาบาลวิภาวดี. (2022). อย่าเฉย…เมื่อชา เพราะอาการชา อาจเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณอันตราย , สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565. จาก. www.vibhavadi.com/Health-expert/