ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกัน Office Syndrome

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกัน Office Syndrome

ทั้งปวดหัว ปวดแขน ปวดหลัง ปวดไปหมดทั้งตัว มนุษย์วัยทำงานทั้งหลายต่างก็ต้องเผชิญกับภาวะ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กัน ซึ่งมันช่างทรมารร่างกายเหลือเกิน

สาเหตุของภาวะออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome)

ภาวะออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome) เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมาจากพฤติกรรมในแต่ละวันของเราทั้งนั้น เช่น

  • การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ
  • นั่งผิดท่า / นั่งท่าที่ขัดกับสรีระ
  • การเพ่งหน้าจอคอมนานๆ
  • ไม่ขยับร่างกาย ไม่ยืดเส้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • สภาพโต๊ะ เก้าอี้ หรือคิมพิวเตอร์มีความสูงหรือต่ำเกินไป
  • ความเครียด
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การกินอาหารที่ไม่ได้ประโยชน์ กินไม่ตรงเวลา ไม่ครบ 5 หมู่

การป้องกัน / ลด ภาวะออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome)

หากพูดถึงการป้องกัน หรือลดอาการจากภาวะออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome) เริ่มก็ต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เสียก่อน

โดยควรจับเวลาการนั่งทำงาน หรือการประกอบกิจกรรมต่างๆ ของตน พยายามแบ่งเวลาให้เหมาะสม อย่านั่งทำงานหน้าจอนานเกินไป ลุกออกไปขยับแขนขา ยืดเส้นยืดสายบ้าง หนึ่งเพื่อผ่อนคลายร่างกายไม่ให้เกร็ง ตึงเกินไปจนเป็นภาวะออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome) สองเพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจจากความเครียดในทำงานด้วย

ปรับเปลี่ยนการกิน

เพื่อช่วยเสริมสารร่างกายให้แข็งแรง นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ควรปรับเปลี่ยนการกินด้วย โดยหันมุ่งเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ มีส่วยช่วยในการบำรุงร่างกาย โดยสามารถเริ่มได้ง่ายๆ จากการเปลี่ยนข้าวขาวเป็น ข้าวกล้อง

ข้าวกล้องนั้นมีสารอาหารมากกว่าข้าวขาวหลายเท่า ทั้งโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างร่างกาย มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฯลฯ ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น ลดความรุนแรงของอาการปวดได้

อย่างไรก็ตาม ควรกินข้าวกล้องควบคุ๋กับการคุมอาหาร เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมกับร่างกาย ลดละเลี่ยงของทอด ของมัน ของหวาน ดื่มน้ำให้เพียงพอ รวมกับการผักพ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น

สามารถอ่านข้อมูลประโยชน์ของข้าวกล้องเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>คลิก<<
เลือกซื้อข้าวกล้องจากข้าวธรรมได้แล้วตอนนี้ >>คลิก<<

ข้อมูลอ้างอิง :

1. โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน. (2021). 7 อาหารที่ช่วยลดอาการปวดหัวได้, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566. จาก. www.paolohospital.com

2. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. (2021). ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษา อย่างไร?, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566. จาก. www.siphhospital.com

3. ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลนครธน. (2019). 8 วิธีรักษา “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566. จาก. www.nakornthon.com

เริ่มพิมพ์และกด Enter เพื่อค้นหา

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า