คัมภีร์เข้าครัว, บทความทั้งหมด

ข้าวแฉะ แก้ได้ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นข้าวต้ม

หลายอาจจะเคยพลาด เผลอใส่น้ำเยอะไปหน่อย ข้าวสวยที่ได้เลยออกมาแฉะเป็นก้อนจนแทบจะต้องเอาไปทำข้าวต้มซะแล้ว

แต่ช้าก่อน! วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ มาเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาการหุงข้าวแฉะให้ทุกคนไปลอง เพื่อให้มื้ออาหารวันนั้นไม่เป็นเป็นหมัน เพื่อให้ได้ข้าวสวยที่หอมนิ่มแบบพอดีตามที่ต้องการ

ก่อนอื่นมาหาสาเหตุของการที่ข้าวแฉะเสียก่อน

สาเหตุอย่างแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือ การใส่น้ำมากเกินไป เพราะข้าวดูดซึมน้ำจนสุกบานออกเต็มที่แล้วแต่ยังมีน้ำเหลืออยู่ ส่งผลให้ข้าวอุ้มน้ำมากเกินจนจับเป็นก้อน หรือก็คือ “ข้าวแฉะ” นั่นเอง

สำหรับข้าวที่แฉะมากๆ คนส่วนใหญ่จะนำทำไปเมนู ข้าวต้ม แทน ซึ่งนั่นก็ไม่ผิดนะ แต่ถ้าเบื่อๆ ทนไม่ไหว อยากกินข้าวสวย ไม่อยากกินข้าวต้มให้ลองวิธีนี้นะ!

  • อุ่นต่ออีกหน่อย 10-15 นาที

    อย่าเพิ่งถอดปลั๊กหม้อข้าว ให้เปิดฝาหม้อเพื่อระบายไอน้ำออก ระหว่างนั้นให้นำทัพพีมาคนข้าวให้กระจายออกจากกันให้มากที่สุด ขั้นตอนนี้ระวังให้มาก เพราะจะมีไอน้ำร้อนระบายออกมามาก ลองคนๆ ซุยๆ ข้าวให้ระบายไอน้ำออก แล้วตั้งหม้อข้าวอุ่นต่อสัก 10-15 นาที เพื่อให้ข้าวระอุ ตะช่วยให้ข้าวเป็นเม็ดมากขึ้น

  • ใช้ขนมปังแผ่น

    ถ้าลองวิธีแรกแล้วข้าวยังแฉะอยู่ ลองใส่ขนมปังแผ่นลงไปบนหน้าข้าวดู เอาสัก 1-2 แผ่นก็พอ แล้วปิดฝาหม้อข้าวทิ้งไว้สักพัก ขนมปังแผ่นจะช่วยดูดซับไอน้ำและความชื้นจากข้าว ช่วยให้ข้าวเป็นเม็ดมากขึ้นได้

  • เข้าเตาอบ เพื่อให้น้ำในข้าวระเหยออก

    การนำข้าวผ่านความร้อน จะทำให้น้ำส่วนเกินที่อยู่ในข้าวลดปริมาณลง/ระเหยออกไปหมดจนได้ ทำให้ได้ข้าวที่เป็นเม็ดสวยมากขึ้น โดยนำข้าวเข้าเตาอบประมาณ 3-5 นาที (ปรับเวลาและความร้อนตามความเหมาะสม)

วิธีเล็กๆ น้อยๆ หวังว่าจะช่วยทุกคนให้ฟื้นข้าวแฉะ มาเป็นข้าวสวยได้บ้างนะ และเพื่อป้องกันไม่ให้เราใส่น้ำมากเกินไปในอนาคตจนได้ข้าวแฉะๆ ออกมาอีก มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • ดูแน่ใจว่าข้าวที่หุงเป็นข้าวเก่า หรือข้าวใหม่

    นั่นเพราะข้าวที่มีอายุต่างกันจะมีปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการหุงต่างกัน แม้จะเป็นข้าวพันธุ์เกียวกันก็ตาม เช่น ข้าวหอมมะลิใหม่ (อายุ 1-3 เดือน) กับข้าวหอมมะลิเก่า (อายุ 6 เดือนขึ้นไป) ก็ใช้น้ำหุงไม่เหมือนกัน โดยข้าวหอมมะลิใหม่ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำเยอะ สัดส่วนอาจจะประมาณ 1:1 ส่วน* สำหรับข้าวหอมมะลิเก่าอาจจะใส่น้ำสัดส่วนประมาณ 1: 1.5-2.0 ส่วน*

    *สัดส่วนเทียบจากปริมาณ ข้าว : น้ำ

  • ศึกษาสายพันธุ์ข้าวที่จะหุง

    สำหรับข้าวที่มีสายพันธุ์ต่างกัน แม้จะอายุข้าวเท่ากันก็อาจจะใช้ปริมาณน้ำที่หุงไม่เท่ากัน เช้น ข้าวหอมมะลิ กับข้าวขาว เนื่องจากข้าวหอมมะลิมีเอกลักษณ์ทางสายพันธุ์ที่นุ่มมากกว่า ทำให้่ใช้น้ำในการหุงได้น้อยกว่าข้าวขาวที่จะแข็งกว่า ทำให้ต้องใช้น้ำในการหุงมากกว่า

    ซึ่งสำหรับข้าวธรรม ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้เลยย เพราะทุกถุงของเรามีสูตรให้พร้อม! รับรองว่าหุงออกมาได้ข้าวที่หอมนุ่มแน่นอน แต่ถ้าชอบให้นิ่ม/แข็งกว่าในสูตรก็สามารถปรับได้น้า แต่ขอแนะนำว่าหุงตามสูตรในครั้งแรกก่อนจะดีที่สุด!
  • อย่าซาวข้าวมากไป

    การซาวข้าว หรือการทำความสะอาดข้าวด้วยน้ำเปล่าก่อนหุงนั้น คนส่วนใหญ่ทำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่มากับข้าวให้หมดไป ไม่ว่าจะฝุ่นผงหรือมอดแมลง ทั้งนี้ไม่ควรที่จะซาวข้าวมากเกินไป เพราะในระหว่างที่ข้าวแช่ในน้ำนั้น น้ำจะถูกดูดซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวด้วย ซึ่งหากซาวนานเกินไป มีน้ำเข้าไปในเมล็ดข้าวเยอะ ก็อาจจะทำให้ข้าวแฉะหรือนิ่มเกินไปเมื่อหุงออกมาได้

หวังว่าหลังจากนี้ทุกคนจะสามารถหุงข้าวออกมากได้สวย นุ่มอร่อยโดนใจกันนะ
สามารถช้อปข้าวธรรม ไปหุงกินแบบง่ายๆ ได้เลย >>คลิก<<