ความรู้เรื่องข้าว, บทความทั้งหมด

สืบสานประเพณี วันเข้าพรรษา

ช่วงนี้เป็นฤกษ์ดี เห็นได้ว่ามีคนบวชบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนดังหรือคนใกล้ตัว เพราะใกล้ “เข้าพรรษา” แล้วนั่นเอง สำหรับวันเข้าพรรษของปี 2566 นี้ ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม เหลืออีกไม่ถึงเดือนแล้ว มีแพลนทำบุญวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชารึยัง?

ประวัติวันเข้าพรรษา

มีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนเมื่อเข้าหน้าฝนมักมีน้ำท่วม ผู้ที่สัญจรไปมาระหว่างเมืองมักจะหยุดเดินทางช่วงคราว เพราะถนนสมัยก่อนเป็นหลุมเป็นบ่อมีน้ำท่วมขัง ทั้งพวกพ่อค้าและผู้นับถือลัทธิต่างๆ จะหยุดพัก ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งจนกว่าจะหมดฤดูฝน

แรกเริ่มเมื่อกำเนิดศาสนาพุทธนั้นยังไม่มีพระภิกษุสงฆ์มากนัก จึงไม่มีข้อกำหนดว่าต้องจำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีพระภิกษุสงฆ์มากขึ้น เมื่อเข้าฤดูฝนยังมีพระภิกษุสงฆ์ยังจาริกไปมา เดินทางข้ามเมืองไปที่ต่างๆ เหยียบย่ำไร่นาของชาวบ้านเกิดความเสียหายและทำให้มีคำครหา ติเตียนมากมาย เมื่อความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงบัญญัติเป็นธรรมเนียมว่า เมื่อเข้าฤดูฝน พระภิกษุสงฆ์จะต้องอยู่จำพรรษาในที่ใดที่หนึ่งตลอด 3 เดือน (ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 คำเดือน 11 ) ห้ามไม่มีภิกษุไปพักที่อื่น หากมีธุระที่เป็นไปตามชอบด้วยพระวินัยจะต้องกลับมาจำพรรษาใน 7 วัน

นอกจากจะป้องกันไม่ให้สวนไร่นาของชาวบ้านเสียหายแล้ว ช่วงเวลาจำพรรษา 3 เดือนนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่เหล่าพระภิกษุสงฆ์จะได้มารวมกันในที่เดียว สามารถร่วมกันศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือถกพระธรรมกัน

ในปัจจุบันเมื่อเข้าพรรษา นอกจากกิจของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรแล้ว ในแต่ละวัดต่างมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป โดยปกติเจ้าอาวาสจะทำหน้าที่ในการประกาศ วัสสูปนายิกา (ข้อกำหนดในการเข้าพรรษา) ให้พระลูกวัดทราบโดยทั่วกัน ยังมีการทำ อธิษฐานพรรษา เป็นการเปล่งวาจาว่าจะอยู่พรรษาตลอดจนครบ 3 เดือน และอาจมีพิธีเพิ่มเติม เช่น การทำสามีจิกรรม คือให้พระสงฆ์กล่าวขอขมาซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงความเคารพต่อกันระหว่างพระสงฆ์เพื่อให้สามารถอยู่จำพรรษาร่วมกันได้อย่างเป็นสุข

ประเพณีในวันเข้าพรรษา

  • ประเพณีถวายเทียน/หล่อเทียนพรรษา

    การถวายเทียนในช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นประเพณีสืบต่อกันมาเนิ่นนาน เนื่องจากในอดีตยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เหล่าพระสงฆ์จึงต้องใช้เทียนในการส่องสว่างตอนกลางคืนขณะที่กำลังศึกษาพระธรรม ชาวบ้านจึงนิยมถวายเทียนพรรษาให้แก่เหล่าพระสงฆ์

    ปัจจุบัน ประเพณีถวายเทียนพรรษานั้นยังคงสืบทอดต่อกันมา แต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากเทียนที่มีไว้เพื่อส่องสว่างเพียงอย่างเดียว เริ่มมีการเพิ่มเติมลวดลสยที่สวยงามให้แก่เทียน จนบางที่มีการแข่งขัน แกะสลักเทียนพรรษา หรือ ประกวดเทียนพรรษา ด้วย บ้างก็มีพิธีแห่เทียนพรรษาทั้งแห่ทางบกและทางน้ำ
  • ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

    ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ ลักษณะเหมือนผ้าสบง ตามตำนานเล่าว่า สมัยก่อนพระสงฆ์จะต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน ทำให้ดูไม่งามหากมีผู้พบเห็น นางวิสาขา จึงขอถวายผ้าวัสสิกสาฏก หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ผ้าอาบน้ำฝน” เพื่อให้พระสงฆ์ใช้สำหรับผลักเปลี่ยนกับผ้าสบง ก่อนจะอาบน้ำฝน
  • ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา

    ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนผ้าจีวรผืนเก่าที่อาจมีรอยชำรุด

กิจกรรมของชาวพุทธในช่วงเข้าพรรษา

สำหรับผู้ที่ชอบใส่บาตรตอนเช้า ในช่วงเข้าพรรษาคงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ กิจกรรมในช่วงเข้าพรรษาของชาวพุทธศาสนิกชนนั้นนิยมไปทำบุญ ฟังธรรมที่วัด บ้างนิยมถือศีลในช่วงเข้าพรรษานี้ ถือเป็นช่วงที่ให้ชีวิตได้ละเว้นการทำกรรม บำเพ็ญความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

แต่ว่าความดีนั้นทำได้ทุกวัน ไม้ต้องรอเข้าพรรษา ทำบุญก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก เพราะเดี๋ยวนี้ก็มีช่องทางบุญมากมายให้ทุกคนเข้าถึง ข้าวธรรมก็จัดไว้ให้แล้ว ด้วย ข้าวใส่บาตร จากข้าวธรรมที่พร้อมให้ทุกคนทำบุญได้แบบสบาย ๆ

กดช้อปข้าวใส่บาตรได้เลย “ข้าวหอมมะลิ คัดพิเศษ” มีทั้งขนาด 100 กรัมและ 200 กรัม
จะทำชุดตักบาตรหรือชุดสังฆทานก็ได้ สะดวก สวยงาม >>คลิก<<