คัมภีร์เข้าครัว, บทความทั้งหมด

วิธีทำข้าวต้มปลาให้ไม่คาว

หลายครั้งกับเมนูข้าวต้มปลา ที่ต่อให้ปรุงรสน้ำซุปกลมกล่อมแค่ไหน มาเจอปลาเข้าหน่อยก็มีกลิ่นคาวซะงั้น! วันนี้ข้าวธรรมจะมาบอกวิธีสำหรับการทำข้าวต้มปลาให้ “ไม่คาว” ข้อระวังง่ายๆ แบบที่ใครหลายคนอาจจะลืม!

1.ลวกปลาในน้ำเดือดจัด

ปลาที่แล่เนื้อพร้อมแล้วต้องรอให้น้ำเดือดจัดก่อนนะ ถึงจะนำปลาลงไปได้ โดยใส่เกลือลงไปเล็กน้อย

เพิ่มเติม : สามารถหั่นข่าใส่ลงไปประมาณสัก 2-3 แว่น ช่วยลดความปลาได้

2.ห้ามคน

เมื่อลงปลาไปแล้ว ห้ามคนเด็ดขาด แค่รอจนกว่าปลาจะสุกแล้วค่อยตักขึ้นมา ระหว่างรอปลาสุกก็คอยตักฟองออกเป็นระยะ

เพิ่มเติม : เมื่อปลาสุกแล้ว อาจนำไปน๊อกด้วยน้ำเย็นจัด เพื่อให้เนื้อปลาขาวใสเด้ง น่ากินมากขึ้น

ทั้งนี้ เรื่องวัตถุดิบก็สำคัญ โดยควรเลือกปลาที่มีความสดใหม่ เพราะจะลดปัญหากลิ่นคาวได้มาก นอกจากนี้เนื้อปลาที่สดยังได้คุณภาพ นำมาปรุงอาหารอร่อยกว่าด้วย โดยมีหลักการเลือกปลาสดง่ายๆ ดังนี้

  • ปลาดูสวย เนื้อไม่ยุ่ย ไม่เละ
  • เหงือปลาแดงสด ไม่มีเมือก
  • ตาปลาใส ไม่ขุ่น
  • เกล็ดปลาเป็นมันวาว ไม่รุ่ยหลุดจากตัวปลา
  • กลิ่นปลาไม่ออกเหม็นเน่า หรือกลิ่นไม่ค่อยดี ไม่คาวปลาแบบปกติ

นอกจากเรื่องปลาแล้วข้าวก็สำตัญ
ข้าวแบบไหนที่เหมาะกับการทำ “ข้าวต้ม” กันนะ?

สำหรับข้าวที่เหมาะกับเมนู “ข้าวต้ม” ควรเป็นข้าวที่มีอายุน้อย หรือสายพันธุ์ที่มี ความนุ่ม และมี กลิ่นหอม เพราะเมื่อนำไปต้มจะได้ข้าวที่ขาวสวย นุ่ม กินคล่องคอ แถมยังหอมกลิ่นข้าวที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย

ข้าวหอมมะลิเชียงราย (ถุงสีเหลือง)

  • พันธุ๋ข้าวหอมมะลิ จากจ.เชียงราย
  • อายุยังน้อย (2-4 เดือน)
  • มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของพันธุ์หอมมะลิ
  • หุงสุกแล้วนุ่ม

    สั่งซื้อ >>คลิก<<

ข้าวหอมใหม่ต้นฤดู (ถุงสีแดง)

  • พันธุ์ข้าวหอม (ไม่ใช่หอมมะลิ)
  • ข้าวใหม่ต้นฤดู มียางเยอะ
  • หุงแล้วหอมนุ่ม เพราะเป็นข้าวใหม่


    สั่งซื้อ >>คลิก<<

ทำอาหารแสนอร่อยกินเองได้ทุกมื้อ เพราะเรื่องครัวไม่ยากอย่างที่คิด
เลือกช้อปข้าวสารตราธรรม คัลเจอร์ได้เลยตอนนี้! >>คลิก<<